“ติดเวลา” หลายคงคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง หรืออาจจะไม่เคยได้ยินเลย “ติดเวลา” หมายถึงอะไร??? วันนี้เรามีคำตอบมาอธิบายให้ทราบกัน
รถบรรทุก ถูกจัดให้อยู่ในประเภทที่มีลักษณะการใช้งานหลากหลายประเภท และมีขนาดของรถแตกต่างกันไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ จึงถูกกำหนดขอบเขตเวลาในการนำรถเข้ามาวิ่งในพื้นที่เมืองหลวง หรือเรียกว่าเขตชั้นในของกรุงเทพฯ คำว่า “ติดเวลา” จึงหมายถึงว่า เวลาที่ไม่สามารถนำรถประเภทบรรทุกเข้ามาวิ่งใช้งานในวลาเร่งด่วนได้
ดังนั้นเพื่อเลี่ยงปัญหาการจราจรที่คับคั่ง และลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นจากภัยบนท้องถนน รถบรรทุกจึงมีกฎหมายกำหนดเฉพาะ โดยจะแยกตามประเภทของรถ และระยะเวลาในการวิ่งดังนี้
กรณีวิ่งบนพื้นราบ
- รถบรรทุกถังขนก๊าซ/วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง เดินรถในเขตกรุงเทพฯ ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-22.00 น. ของทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์
2. รถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-09.00 น. และเวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ - รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-10.00 น. และเวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
- รถบรรทุกอื่นๆ เช่น รถบรรทุกซุง เสาเข็ม ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-21.00 น.
กรณีวิ่งบนทางด่วน
- รถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-09.00 น. และเวลา 16.00-20.00 น.
- รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-09.00 น. และเวลา 15.00-21.00 น.
- รถบรรทุกสารเคมี ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-10.00 น. และเวลา 15.00-22.00 น.
ทั้งนี้ รถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กก. สามารถวิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครได้โดยไม่ถือเป็นการติดเวลา ส่วนรถบรรทุกที่มีท้ายยาวกว่า 2.50 เมตร วัดความสูงจากพื้น 3.00 เมตร ส่วนหน้า ห้ามเลยส่วนตัวเก๋ง (ตัวรถ) แต่ในข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร ทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย ห้ามเดินรถบรรทุกขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่ภายในของถนนวงรอบพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร 113 ตารางกิโลเมตร ในช่วงเวลา 06.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ