สาระน่ารู้เกี่ยวกับการ Refinance รถยนต์ ( รีไฟแนนซ์รถยนต์ )

Refinance รถยนต์, รีไฟแนนซ์รถยนต์ จัดไฟแนนซ์รถมือสอง สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อรถยนต์ ย้ายไฟแนนซ์รถยนต์ จัดไฟแนนซ์รถเก่า จัดไฟแนนซ์รถบ้าน
Refinance รถยนต์, รีไฟแนนซ์รถยนต์ จัดไฟแนนซ์รถมือสอง สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อรถยนต์ ย้ายไฟแนนซ์รถยนต์ จัดไฟแนนซ์รถเก่า จัดไฟแนนซ์รถบ้าน

สาระน่ารู้เกี่ยวกับการ Refinance รถยนต์ ( รีไฟแนนซ์รถยนต์ )


การรีไฟแนนซ์รถยนต์ ( Refinance รถยนต์ ) นั้น มีหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็มีรายละเอียดแตกต่างกันไป และเพื่อให้การเข้าสู่ธุรกรรมนี้เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด เรามาดูถึงกฎ กติกา มารยาทในเรื่องนี้แบบรู้ลึก รู้จริง และรู้รอบ กันเลยดีกว่า

การ รีไฟแนนซ์รถยนต์ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ

1. กรณียังไม่มีเล่มทะเบียน คือ อยู่ระหว่างผ่อนชำระ แต่ต้องการรีไฟแนนซ์ จะสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ

1) รีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม

2) รีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่

2. กรณีมีเล่มทะเบียน เรียบร้อยแล้ว คือ ผ่อนชำระเสร็จสิ้นแล้ว สามารถทำได้ 2 ลักษณะเช่นกัน คือ

1) นำเล่มทะเบียนไปวางค้ำประกันไว้ แล้วขอกู้เงินโดยไม่ต้องเปลี่ยนชื่อในเล่มทะเบียน ( Mortgage ) เรียก จำนำทะเบียน

2) มีเล่มทะเบียนแล้ว ต้องการเงินกู้จากธนาคารโดยยอมเปลี่ยนชื่อในเล่มทะเบียน ก็คือ การทำไฟแนนซ์ใหม่ หรือ รีไฟแนนซ์ ( Refinance ) นั่นเอง

3. การดำเนินการยื่นเรื่อง Refinance รถยนต์ ทำได้ 2 แบบ คือ

1) การยื่นรีไฟแนนซ์ด้วยตัวเอง

2) การยื่นรีไฟแนนซ์ผ่านดีลเลอร์ของธนาคาร

ข้อดี – ข้อเสีย และความแตกต่างของการ Refinance รถยนต์ ตามลักษณะต่าง ๆ ทั้ง 3 ข้อ

1. กรณียังไม่มีเล่มทะเบียน

1.1 การ Refinance รถยนต์ กับธนาคารใหม่

ข้อดี

          • อาจได้ยอดจัดหรือดอกเบี้ยถูกกว่าที่เดิม อันเนื่องมาจากการแข่งขันกันเองระหว่างธนาคาร การยื่นกู้อาจจะง่ายขึ้น อาจเนื่องจากที่ใหม่ ไม่ใช่ผู้ค้ำประกัน หรือมีเงื่อนไขดีกว่าที่เดิม

ข้อเสีย

          • การย้ายธนาคาร คุณต้องจ่ายค่าโอนกรรมสิทธิ์ใหม่ ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

1.2 การ Refinance รถยนต์ กับธนาคารเดิม

ข้อดี

          • กรณีเรามีประวัติผ่อนชำระดี การ รีไฟแนนซ์ ที่เดิมอาจจะผ่านง่ายกว่าที่ใหม่
          • การ รีไฟแนนซ์รถยนต์ กับที่เดิม ไม่ต้องเสียค่าโอนย้ายกรรมสิทธิ์ นั่นคือ ทำให้เราประหยัดเงินไปบางส่วน

ข้อเสีย

          • หากต้องการใช้บริการกับที่เดิม บางครั้งอาจจะไม่ได้ยอดจัดสูงที่สุดและดอกเบี้ยที่ดีที่สุด

2. กรณีมีเล่มทะเบียนแล้ว ควรจะทำแบบโอนเล่ม ( รีไฟแนนซ์ ) หรือไม่โอนเล่ม ( จำนำทะเบียน ) ดี ?!!

      • กรณีมีเล่มแล้ว การจำนำทะเบียน ( ไม่โอนเล่ม ) ก็ดีตรงที่ชื่อยังเป็นชื่อเรา แต่คุณก็ต้องนำเล่มไปให้ธนาคารเก็บไว้อยู่ดี
      • กรณีไม่โอนเล่ม อัตราดอกเบี้ยต่อปี จะสูงกว่า กรณีโอนเล่ม เนื่องจากธนาคาร ถือว่าการโอนเล่ม ทำให้มีหลักประกันเงินกู้แตกต่างจากไม่โอนเล่ม ธนาคารไม่มีหลักประกันเงินกู้ เป็นลักษณะของสินเชื่อส่วนบุคคล ดังนั้นแบบไม่โอนเล่ม ถึงแม้โฆษณาจะบอกว่าประมาณ 6 % ต่อปี แต่เป็นการผ่อนชำระแบบลดต้นลดดอก ( Effective Rate – แบบผ่อนบ้าน ) ที่เป็นดอกเบี้ยผ่อนรถทั่วไป ที่อยู่ประมาณ 4 – 5 % ต่อไป
      • ข้อดีของการจำนำทะเบียน ( แบบไม่โอนชื่อในเล่ม ) คือ หากเราต้องการปิดบัญชีก่อนกำหนด ธนาคารก็คิดให้เราเฉพาะเงินต้นเท่านั้น ไม่ต้องรวมดอกเบี้ยในปีที่เหลือ เหมือนกับการ รีไฟแนนซ์ แบบเปลี่ยนชื่อทั่วไป
      • การจำนำทะเบียน ( ไม่โอนชื่อในเล่ม ) ไม่มีภาระต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % แบบเปลี่ยนชื่อต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % รวมไปกับยอดผ่อนชำระในรายเดือน

Refinance รถยนต์, รีไฟแนนซ์รถยนต์ จัดไฟแนนซ์รถมือสอง สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อรถยนต์ ย้ายไฟแนนซ์รถยนต์ จัดไฟแนนซ์รถเก่า จัดไฟแนนซ์รถบ้าน

3. Refinance รถยนต์ ด้วยตนเองหรือทำผ่านดีลเลอร์ ?!!

      • กรณีที่ท่านยังมีภาระผ่อนชำระกับธนาคารนั้น การ รีไฟแนนซ์ถยนต์ คันเดิม ท่านต้องนำเงินสดส่วนตัวไปปิดบัญชีกับธนาคารที่เดิมหรือที่ใหม่ เนื่องจากธนาคารไม่รับปิดบัญชีให้ลูกค้า โดยลูกค้าจะต้องปิดบัญชีด้วยตนเอง ก่อนจะยื่นเอกสารกับธนาคารได้ ดังนั้นหากท่านไม่สะดวกที่จะนำเงินสดไปปิดบัญชีได้ก่อน ท่านก็สามารถ รีไฟแนนซ์ถยนต์ ผ่านทางดีลเลอร์ของธนาคาร ดีลเลอร์จะให้ท่านยื่นเอกสาร จัดสินเชื่อให้ผ่านก่อน เมื่อผ่านแล้วดีลเลอร์ก็จะไปปิดบัญชีที่ธนาคารเดิมให้ท่านนำเล่มทะเบียนรถไปให้ธนาคารใหม่ภายหลัง โดยดีลเลอร์ก็คิดค่าธรรมเนียมการ จัดไฟแนนซ์รถยนต์ และค่าใช้จ่าย ๆ อื่น ๆ เช่น ค่าปิดบัญชีกับท่าน
      • กรณีที่ท่านมีเล่มทะเบียนแล้วท่านสามารถยื่นเรื่อง รีไฟแนนซ์ถยนต์ ได้ด้วยตนเอง หากแต่ท่านก็ต้องเสาะหาข้อมูลด้วยตนเอง ว่าธนาคารใดจะให้เงื่อนไขเรื่องดอกเบี้ยและยอดจัดอย่างไร รวมทั้งที่ใดจะยื่นเรื่องแล้วผ่านง่าย ที่ใดผ่านยาก หากเห็นว่ายุ่งยากท่านสามารถให้ดีลเลอร์จัดการแทนท่านได้

รถยนต์ที่ รีไฟแนนซ์ ได้ ปีไหนถึงปีไหน ?!!

      • ลิสซิ่งส่วนใหญ่รับรถได้ประมาณถึง 16 ปี ( กรณีปีนี้ 2020 รถ 2007 ก็ยังรับ รีไฟแนนซ์ ได้ )

รถยนต์ที่รีไฟแนนซ์ไม่ได้ หรือได้แต่ได้ยอดน้อยมาก

      • รถที่อายุเกิน 16 ปี ลิสซิ่ง ไม่รับรีไฟแนนซ์
      • รถที่ไม่ใช่รถตลาดจะ รีไฟแนนซ์ ราคาประมาณ 70 % ของราคากลาง
      • รถไม่รับ เช่น แท็กซี่ที่ไม่ใช่เขียวเหลือง, บรรทุกบางประเภท ( ต้องใช้ลิสซิ่งเฉพาะทางในการ จัดไฟแนนซ์รถยนต์ กลุ่มประเภทนี้ )
      • รถที่เปลี่ยนเครื่องคนละตระกูลกัน เช่น รถโตโยต้า ไปใส่เครื่องคนละรุ่น หรือรถฮอนด้าไปใส่เครื่องโตโยต้า เป็นต้น

รถตลาด และรถที่ไม่ใช่รถตลาด คือ รถอะไรบ้าง ?!!

      • รถตลาด ( Market Brand ) คือ รถที่เป็นที่นิยม เช่น โตโยต้า ฮอนด้า อีซูซุ เบนซ์ บีเอ็ม นิสสัน มิตซูบิชิ กรณี รีไฟแนนซ์ ยอดจัดจะสูงประมาณ 90 – 100 % ของราคากลาง และผ่อนชำระได้นานถึง 72 งวด
      • รถที่ไม่ใช่รถตลาด ( Non Market Brand ) คือ รถที่ไม่ใช่รถในกลุ่มแรก หากแต่บางรุ่น บางยี่ห้อ จึงจัดได้ 90 % รถ Non Market Brand บางรุ่นจัดได้เพียง 70 % บางรุ่น จัดไฟแนนซ์รถยนต์ ไม่ได้เลย แม้ว่าจะเป็นรถใหม่ก็ตาม

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้รับข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับ Refinance รถยนต์เรียบร้อยแล้ว และถ้าหากท่านสนใจที่จะรีไฟแนนซ์รถยนต์กับสถาบันทางการเงินที่เชื่อถือได้ ท่านสามารถติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของ ซิตี้ ลิสซิ่ง ได้ตลอดเวลา หรือท่านสามารถขอคำปรึกษา หรือให้เราช่วยวางแผนให้ท่านได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการปรึกษาแต่อย่างใด

สินเชื่อรถยนต์ ซิตี้ ลิสซิ่ง


รายละเอียดสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายบริการสินเชื่อ

สำนักงานใหญ่ สายด่วน : 

โทร. 02 7623838 , 091-7729735