สินเชื่อรถแลกเงิน

สินเชื่อรถยนต์ จัดไฟแนนซ์

รถบ้านสวย สภาพดี ไม่มีภาระผูกพัน แต่ต้องการใช้เงิน สามารถนำรถมาแลกเงินได้ไหม ?!!

     สามารถนำมาแลกเงินกลับได้เลย ให้รถบ้านสวย สภาพดี ไม่มีภาระผูกผัน แปรเปลี่ยนเป็นเงินก้อนโต ให้ทุกปัญหาการเงินของคุณมีทางออก นำรถเข้ามาจัดไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อรถแลกเงิน กับทาง ซิตี้ ลิสซิ่ง รถยังมีขับ พร้อมกับรับเงินก้อนโตกลับบ้าน!! ให้ ซิตี้ ลิสซิ่ง ดูแลคุณ ทุกบริการสินเชื่อรถยนต์ จะไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป และทาง ซิตี้ ลิสซิ่ง  ยังมีบริการสินเชื่อรถยนต์พร้อมบริการถึงที่ ให้คุณไม่ต้องเดินทาง เพียงแจ้งความประสงค์มาที่ ซิตี้ ลิสซิ่ง เราพร้อมส่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อไปบริการถึงหน้าบ้านคุณ

อนุมัติง่าย ได้เงินไว เงื่อนไขยืดหยุ่น

 

เหตุผลที่ควรเลือก ซิตี้ ลิสซิ่ง

วงเงินสูง
ผ่อนนานสูงสุด 72 เดือน
รับรถอายุสูงสุด 15 ปี
บริการสินเชื่อถึงที่
ชำระค่างวดได้ทุก Mobile Banking

เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา

      • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
      • สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน
      • สำเนาบัญชีธนาคาร ( ย้อนหลัง 6 เดือน )
      • สำเนาหนังสือรับรองบริษัท ( กรณีเป็นนิติบุคคล )
      • แผนที่บ้านและที่ทำงาน
      • คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ หรือสำเนาทะเบียนรถยนต์

รายละเอียดสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายบริการสินเชื่อ

สำนักงานใหญ่ สายด่วน :  02-7623838  Hotline : 091-7729735

ท่านสามารถดูรายการสินเชื่อประเภทอื่นๆ ของเราได้โดย คลิกที่นี่

อัตราดอกเบี้ยรถยนต์   คลิกเลย

เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับลักษณะของประเภทรถยนต์ตามจดทะเบียน มีแบบไหนบ้าง และเรียกว่าอะไรบ้างนะ?

เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับลักษณะของประเภทรถยนต์ตามที่จดทะเบียน
มีแบบไหนบ้าง และเรียกว่าอะไรบ้างนะ?

         รถยนต์ในเมืองไทย ได้มีการแบ่งประเภทรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2473 ออกทั้งหมดเป็น 17 ประเภท ซึ่งแต่ประเภทจะมีลักษณะ และรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันออกไป มีผลให้การเสียภาษีประจำปี ค่าธรรมเนียมในการโอน และเอกสารในการทำเรื่องของกรมขนส่งต่างๆ แตกต่างกัน เรามาทำความรู้จักกับรถจดทะเบียนแต่ละประเภทกันค่ะ

         ประเภทที่ 1 : รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) เป็นรถที่ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร เช่น เก๋งตอนเดียว เก๋งสองตอน เก๋งสองตอนแวน นั่งสองตอนท้ายบรรทุก เป็นต้น

       ประเภทที่ 2 : รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) เป็นรถที่ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร และความยาวของตัวถังวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึง ท้ายรถต้องไม่เกิน 2 ใน 3 ของความยาววัดจากศูนย์กลางเพลาล้อ หน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง เช่น เก๋งสามตอน นั่งสองแถว นั่งสองตอนสองแถว ตู้นั่งสามตอน นั่งสองแถว เป็นต้น

       ประเภทที่ 3 : รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) เป็นรถซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่า ด้วยการขนส่งทางบก ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร และความยาวของตัวถังวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถไม่เกิน 3 ใน 5 ของความยาววัดจาก ศูนย์กลางเพลาล้อหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง เช่น กระบะบรรทุก ตู้บรรทุก กระบะบรรทุกมีหลังคา เป็นต้น

       ประเภทที่ 4 : รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รย.4) เป็นรถที่ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด

       ประเภทที่ 5 : รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด (รย.5) ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน

      ประเภทที่ 6 : รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รย.6) ต้องเป็นรถเก๋งสองตอน ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู ซึ่งต้องเป็นประตูที่มิได้ติดตั้งระบบควบคุมการปิดเปิดประตูรถจากศูนยก์ลาง (CENTRAL LOCK) กระจกกันลมต้องเป็นกระจกโปร่งใสสามารถมองเห็นสภาพภายในรถ และสภาพจราจรภายนอกรถได้ชัดเจน และห้ามมิให้นำวัสดุอื่นใดมาติดหรือบังส่วนหนึ่งส่วนใดของกระจก เว้นแต่เป็นการติดเครื่องหมายหรือเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด หรือการติดวัสดุสำหรับบัง หรือกรองแสงแดดที่กระจกกันลมด้านหน้าตามขนาดที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป สำหรับรถยนต์รับจ้าง (TAXI – METER) ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2535 เป็นต้นไป (ยกเว้นรถยนต์รับจ้างที่เจ้าของรถ นำมาจดทะเบียนแทนรถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 17 เมษายน 2535) ต้องเป็นรถเก๋งสอง ตอน หรือรถเก๋งสองตอนที่มีพื้นที่บรรทุกภายในตัวรถ (รถเก๋งสองตอนแวน) ที่ผลิตสำเร็จรูปจาก โรงงานผู้ผลิต มีขนาดกว้างของรถไม่เกิน 2.5 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู และมีเครื่องยนต์ที่มีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร

      ประเภทที่ 7 : รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (รย.7) ต้องเป็นรถสองตอน มีประตูไม่ต่ำกว่าสองประตู ขนาดกว้างของรถไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร

      ประเภทที่ 8 : รถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย.8) ต้องมีลักษณะประทุน โดยมีที่นั่ง 2 ตอน หรือ 2 แถว ขนาดกว้าง ไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลูกบาศก์เซนติเมตร

      ประเภทที่ 9 : รถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย.9) รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ต้องเป็นรถเก๋ง สองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้บรรทุกคนโดยสารระหว่างท่าอากาศยาน ท่าเรือเดินทะเล สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟกับโรงแรมที่พักอาศัยที่ทำการของผู้โดยสาร หรือที่ ทำการของผู้บริการธุรกิจนั้น

      ประเภทที่ 10 : รถยนต์บริการทัศนาจร (รย.10) รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คนต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวใช้รับส่งคนโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว

      ประเภทที่ 11 : รถยนต์บริการให้เช่า (รย.11) รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นรถยนต์ที่จัดไว้ให้เช่า ซึ่งมิใช่เป็นการเช่าเพื่อนำไปรับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือสิ่งของ

      ประเภทที่ 12 : รถจักรยานยนต์ (รย.12) รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่ม อีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วยต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ยาวไม่เกิน 2.50 เมตร ถ้ามีพ่วงข้างรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ยาวไม่เกิน 1.75 เมตร และเมื่อนำมาพ่วงกับรถจักรยานยนต์แล้วต้องมีขนาดกว้างวัดจาก ล้อหลังของรถจักรยานยนต์ถึงล้อของรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 1.50 เมตร

      ประเภทที่ 13 : รถแทรกเตอร์ (รย.13) เป็นรถที่มีล้อหรือสายพาน และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง เป็นเครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานในงานที่เกี่ยวกับการขุด ตัก ดัน หรือฉุดลากเป็นต้น หรือรถยนต์สำหรับลากจูงซึ่งมิได้ใช้ ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกต้องมีขนาดกว้าง ไม่เกิน 4.40 เมตร ยาวไม่เกิน 16.20 เมตร

      ประเภทที่ 14 : รถบดถนน (รย.14) เป็นรถที่ใช้ในการบดอัดวัสดุบนพื้นให้แน่น และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง หรือใช้รถอื่นลากจูง ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 3.50 เมตร ยาวไม่เกิน 8 เมตร

      ประเภทที่ 15 : รถใช้งานเกษตรกรรม (รย.15) เป็นรถที่ผลิต หรือประกอบขึ้นเพื่อใช้งานเกษตรกรรม โดยใช้เครื่องยนต์ซึ่งมิได้ใช้สำหรับรถยนต์ โดยเฉพาะมาติดตั้งต้องเป็นรถที่มีสามล้อหรือสี่ล้อ น้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม มีขนาดกว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร

      ประเภทที่ 16 : รถพ่วง (รย.16) เป็นรถที่เคลื่อนที่ไปโดยใช้รถอื่นลากจูง ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร

      ประเภทที่ 17 : รถจักรยานยนต์สาธารณะ (รย.17) เป็นรถจักรยานยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ต้องมีความกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ความยาวไม่เกิน 2.50 เมตร ความสูงไม่เกิน 2 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 125 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ไม่หมายรวมถึงรถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างและจักรยานที่ติด เครื่องยนต์

ขอขอบคุณข้อมูล : https://www.dlt.go.th/site/surin/m-news/3182/view.php?_did=12309
                               https://car.kapook.com/view210611.html

วิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน อาคารชุด สิ่งปลูกสร้าง ผ่านออนไลน์ง่ายๆ ได้ด้วยตัวคุณเอง

         ในปัจจุบัน ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นอยู่ทุกๆปี  แต่รู้หรือไม่ว่าที่ดินที่ของเรามีนั้นมีราคาประเมินอยู่ที่เท่าไหร่?
วันนี้ ขอเสนอวิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดินผ่านระบบออนไลน์ ได้ด้วยตัวเอง โดยสามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่จะต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้างนั้น และมีขั้นตอนอย่างไร ตามมาดูกันเลยค่ะ
– สิ่งที่ต้องเตรียม : โฉนดที่ดิน หรือข้อมูลสารบัญหน้าโฉนดที่ทราบ
– ขั้นตอนการตรวจสอบ มีดังนี้
เข้า เว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ หรือ คลิกลิ้งก์ตามนี้ : http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/

ตรวจสอบแบบที่ 1 : ราคาประเมินที่ดิน จากเลขที่โฉนด

เท่านี้เราก็จะทราบราคาประเมินที่ดิน ต่อ ตารางวา ให้นำขนาดพื้นที่คูณด้วยราคาประเมินต่อตารางวา เราก็ได้ราคาประเมินที่ดินทั้งหมด

ตรวจสอบแบบที่ 2 : ราคาประเมินที่ดิน จากเลขที่ดิน

ตรวจสอบแบบที่ 3 : ราคาประเมินอาคารชุด

เนื่องจากเป็นอาคารชุด ราคาประเมินจะต้องดูตามชั้น เพราะว่าแต่ละชั้นราคาประเมินจะไม่เท่ากัน หลังจากที่ได้ราคาประเมินให้นำขนาดพื้นที่คูณด้วยราคาประเมินต่อตารางเมตร เราก็ได้ราคาประเมินห้องชุดทั้งหมด

ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นราคาต่อ ตารางเมตร สามารถนำพื้นที่ใช้สอยภายในสิ่งปลูกสร้าง คูณกับราคาประเมินต่อตารางเมตร จะได้ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด

หมายเหตุ : วิธีดังกล่าวเป็นการค้นหาราคาประเมินเบื้องต้นเท่านั้น ผู้สืบค้นต้องยืนยันโดยคัดราคาประเมินที่ดินจากสำนักงานที่ดินอีกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูล : https://www.feasyonline.com
                                http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/
                                http://dolwms.dol.go.th/tvwebp/