เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับลักษณะของประเภทรถยนต์ตามจดทะเบียน มีแบบไหนบ้าง และเรียกว่าอะไรบ้างนะ?

เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับลักษณะของประเภทรถยนต์ตามที่จดทะเบียน
มีแบบไหนบ้าง และเรียกว่าอะไรบ้างนะ?

         รถยนต์ในเมืองไทย ได้มีการแบ่งประเภทรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2473 ออกทั้งหมดเป็น 17 ประเภท ซึ่งแต่ประเภทจะมีลักษณะ และรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันออกไป มีผลให้การเสียภาษีประจำปี ค่าธรรมเนียมในการโอน และเอกสารในการทำเรื่องของกรมขนส่งต่างๆ แตกต่างกัน เรามาทำความรู้จักกับรถจดทะเบียนแต่ละประเภทกันค่ะ

         ประเภทที่ 1 : รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) เป็นรถที่ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร เช่น เก๋งตอนเดียว เก๋งสองตอน เก๋งสองตอนแวน นั่งสองตอนท้ายบรรทุก เป็นต้น

       ประเภทที่ 2 : รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) เป็นรถที่ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร และความยาวของตัวถังวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึง ท้ายรถต้องไม่เกิน 2 ใน 3 ของความยาววัดจากศูนย์กลางเพลาล้อ หน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง เช่น เก๋งสามตอน นั่งสองแถว นั่งสองตอนสองแถว ตู้นั่งสามตอน นั่งสองแถว เป็นต้น

       ประเภทที่ 3 : รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) เป็นรถซึ่งมิได้ใช้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่า ด้วยการขนส่งทางบก ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร และความยาวของตัวถังวัดจากศูนย์กลางเพลาล้อหลังถึงท้ายรถไม่เกิน 3 ใน 5 ของความยาววัดจาก ศูนย์กลางเพลาล้อหน้าถึงศูนย์กลางเพลาล้อหลัง เช่น กระบะบรรทุก ตู้บรรทุก กระบะบรรทุกมีหลังคา เป็นต้น

       ประเภทที่ 4 : รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล (รย.4) เป็นรถที่ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด

       ประเภทที่ 5 : รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด (รย.5) ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน

      ประเภทที่ 6 : รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รย.6) ต้องเป็นรถเก๋งสองตอน ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู ซึ่งต้องเป็นประตูที่มิได้ติดตั้งระบบควบคุมการปิดเปิดประตูรถจากศูนยก์ลาง (CENTRAL LOCK) กระจกกันลมต้องเป็นกระจกโปร่งใสสามารถมองเห็นสภาพภายในรถ และสภาพจราจรภายนอกรถได้ชัดเจน และห้ามมิให้นำวัสดุอื่นใดมาติดหรือบังส่วนหนึ่งส่วนใดของกระจก เว้นแต่เป็นการติดเครื่องหมายหรือเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด หรือการติดวัสดุสำหรับบัง หรือกรองแสงแดดที่กระจกกันลมด้านหน้าตามขนาดที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป สำหรับรถยนต์รับจ้าง (TAXI – METER) ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2535 เป็นต้นไป (ยกเว้นรถยนต์รับจ้างที่เจ้าของรถ นำมาจดทะเบียนแทนรถยนต์รับจ้างที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 17 เมษายน 2535) ต้องเป็นรถเก๋งสอง ตอน หรือรถเก๋งสองตอนที่มีพื้นที่บรรทุกภายในตัวรถ (รถเก๋งสองตอนแวน) ที่ผลิตสำเร็จรูปจาก โรงงานผู้ผลิต มีขนาดกว้างของรถไม่เกิน 2.5 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร มีประตูไม่ต่ำกว่าสี่ประตู และมีเครื่องยนต์ที่มีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร

      ประเภทที่ 7 : รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง (รย.7) ต้องเป็นรถสองตอน มีประตูไม่ต่ำกว่าสองประตู ขนาดกว้างของรถไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร

      ประเภทที่ 8 : รถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย.8) ต้องมีลักษณะประทุน โดยมีที่นั่ง 2 ตอน หรือ 2 แถว ขนาดกว้าง ไม่เกิน 1.50 เมตร ยาวไม่เกิน 4 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 550 ลูกบาศก์เซนติเมตร

      ประเภทที่ 9 : รถยนต์รับจ้างสามล้อ (รย.9) รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ต้องเป็นรถเก๋ง สองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ใช้บรรทุกคนโดยสารระหว่างท่าอากาศยาน ท่าเรือเดินทะเล สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟกับโรงแรมที่พักอาศัยที่ทำการของผู้โดยสาร หรือที่ ทำการของผู้บริการธุรกิจนั้น

      ประเภทที่ 10 : รถยนต์บริการทัศนาจร (รย.10) รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คนต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวใช้รับส่งคนโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว

      ประเภทที่ 11 : รถยนต์บริการให้เช่า (รย.11) รถยนต์บรรทุกคนโดยสาร หรือให้เช่า ซึ่งบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ต้องเป็นรถเก๋งสองตอนไม่ต่ำกว่าสี่ประตู น้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งเป็นรถยนต์ที่จัดไว้ให้เช่า ซึ่งมิใช่เป็นการเช่าเพื่อนำไปรับจ้างบรรทุกคนโดยสารหรือสิ่งของ

      ประเภทที่ 12 : รถจักรยานยนต์ (รย.12) รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่ม อีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วยต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ยาวไม่เกิน 2.50 เมตร ถ้ามีพ่วงข้างรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ยาวไม่เกิน 1.75 เมตร และเมื่อนำมาพ่วงกับรถจักรยานยนต์แล้วต้องมีขนาดกว้างวัดจาก ล้อหลังของรถจักรยานยนต์ถึงล้อของรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 1.50 เมตร

      ประเภทที่ 13 : รถแทรกเตอร์ (รย.13) เป็นรถที่มีล้อหรือสายพาน และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง เป็นเครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานในงานที่เกี่ยวกับการขุด ตัก ดัน หรือฉุดลากเป็นต้น หรือรถยนต์สำหรับลากจูงซึ่งมิได้ใช้ ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกต้องมีขนาดกว้าง ไม่เกิน 4.40 เมตร ยาวไม่เกิน 16.20 เมตร

      ประเภทที่ 14 : รถบดถนน (รย.14) เป็นรถที่ใช้ในการบดอัดวัสดุบนพื้นให้แน่น และมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนในตัวเอง หรือใช้รถอื่นลากจูง ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 3.50 เมตร ยาวไม่เกิน 8 เมตร

      ประเภทที่ 15 : รถใช้งานเกษตรกรรม (รย.15) เป็นรถที่ผลิต หรือประกอบขึ้นเพื่อใช้งานเกษตรกรรม โดยใช้เครื่องยนต์ซึ่งมิได้ใช้สำหรับรถยนต์ โดยเฉพาะมาติดตั้งต้องเป็นรถที่มีสามล้อหรือสี่ล้อ น้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม มีขนาดกว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 6 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร

      ประเภทที่ 16 : รถพ่วง (รย.16) เป็นรถที่เคลื่อนที่ไปโดยใช้รถอื่นลากจูง ต้องมีขนาดกว้างไม่เกิน 2.50 เมตร ยาวไม่เกิน 12 เมตร

      ประเภทที่ 17 : รถจักรยานยนต์สาธารณะ (รย.17) เป็นรถจักรยานยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ต้องมีความกว้างไม่เกิน 1.10 เมตร ความยาวไม่เกิน 2.50 เมตร ความสูงไม่เกิน 2 เมตร เครื่องยนต์ต้องมีความจุในกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 125 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ไม่หมายรวมถึงรถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างและจักรยานที่ติด เครื่องยนต์

ขอขอบคุณข้อมูล : https://www.dlt.go.th/site/surin/m-news/3182/view.php?_did=12309
                               https://car.kapook.com/view210611.html

วิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน อาคารชุด สิ่งปลูกสร้าง ผ่านออนไลน์ง่ายๆ ได้ด้วยตัวคุณเอง

         ในปัจจุบัน ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นอยู่ทุกๆปี  แต่รู้หรือไม่ว่าที่ดินที่ของเรามีนั้นมีราคาประเมินอยู่ที่เท่าไหร่?
วันนี้ ขอเสนอวิธีตรวจสอบราคาประเมินที่ดินผ่านระบบออนไลน์ ได้ด้วยตัวเอง โดยสามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน แต่จะต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้างนั้น และมีขั้นตอนอย่างไร ตามมาดูกันเลยค่ะ
– สิ่งที่ต้องเตรียม : โฉนดที่ดิน หรือข้อมูลสารบัญหน้าโฉนดที่ทราบ
– ขั้นตอนการตรวจสอบ มีดังนี้
เข้า เว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ หรือ คลิกลิ้งก์ตามนี้ : http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/

ตรวจสอบแบบที่ 1 : ราคาประเมินที่ดิน จากเลขที่โฉนด

เท่านี้เราก็จะทราบราคาประเมินที่ดิน ต่อ ตารางวา ให้นำขนาดพื้นที่คูณด้วยราคาประเมินต่อตารางวา เราก็ได้ราคาประเมินที่ดินทั้งหมด

ตรวจสอบแบบที่ 2 : ราคาประเมินที่ดิน จากเลขที่ดิน

ตรวจสอบแบบที่ 3 : ราคาประเมินอาคารชุด

เนื่องจากเป็นอาคารชุด ราคาประเมินจะต้องดูตามชั้น เพราะว่าแต่ละชั้นราคาประเมินจะไม่เท่ากัน หลังจากที่ได้ราคาประเมินให้นำขนาดพื้นที่คูณด้วยราคาประเมินต่อตารางเมตร เราก็ได้ราคาประเมินห้องชุดทั้งหมด

ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นราคาต่อ ตารางเมตร สามารถนำพื้นที่ใช้สอยภายในสิ่งปลูกสร้าง คูณกับราคาประเมินต่อตารางเมตร จะได้ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด

หมายเหตุ : วิธีดังกล่าวเป็นการค้นหาราคาประเมินเบื้องต้นเท่านั้น ผู้สืบค้นต้องยืนยันโดยคัดราคาประเมินที่ดินจากสำนักงานที่ดินอีกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูล : https://www.feasyonline.com
                                http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/
                                http://dolwms.dol.go.th/tvwebp/ 

รู้หรือยัง? รถยนต์อายุเกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์อายุเกิน 5 ปี สามารถต่อภาษีออนไลน์ได้แล้ว

        ทางกรมการขนส่งทางบกได้มีการปรับปรุงระบบชำระภาษีรถยนต์ประจำปี โดยเพิ่มกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก สามารถที่จะยื่นภาษีออนไลน์ได้  ทั้งนี้รถยนต์ที่ต้องการชำระภาษีจะต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) เสียก่อน จึงจะสามารถดำเนินการชำระภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ได้


         ปัจจุบันสามารถชำระภาษีรถยนต์ประจำปีแบบออนไลน์ได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่ง https://eservice.dlt.go.th/  ทางกรมการขนส่งมีบริการชำระภาษีรถประจำปีได้ทุกอายุการใช้งาน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งบริการที่เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอน และลดการเดินทาง ให้แก่ประชาชน ทำให้ขั้นตอนในการชำระภาษีรถยนต์ประจำปีไม่ยุ่งยากอีกต่อไป

สำหรับขั้นตอนการชำระภาษีผ่านเว็บไซต์สามารถทำได้ง่ายดังนี้
1. เข้าไปยังเว็บไซต์   https://eservice.dlt.go.th
2. Log-in เข้าสู่ระบบ หรือหากเป็นการยื่นครั้งแรก ให้ทกการเลือก “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่”
3. จากนั้นเลือก “ชำระภาษีรถประจำปี” และเลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”
4. เลือก “ลงทะเบียนรถยนต์” กรอกข้อมูล ประเภทรถยนต์, จังหวัด/สาขา, เลขทะเบียนรถยนต์, ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์/ผู้ครอบครอง หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทำการบันทึก กดเลือกรายการที่ต้องการต่อภาษี และกดยื่นชำระภาษี
5. กรอกรายละเอียดหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือซื้อจากระบบ
6. กรอกข้อมูลที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารให้ครบถ้วนและถูกต้อง
7. เลือกช่องทางชำระเงิน (หักบัญชีเงินฝาก/ตัดบัตรเครดิต/บัตรเดบิต/ชำระผ่านตู้ ATM/เคาน์เตอร์/ Mobile Banking)
8.  การตรวจสอบสถานะสามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”

อัตราค่าบริการ
– ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
– ค่าธรรมเนียมเคาน์เตอร์ธนาคาร รายการละ 20 บาท
– ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรในกรณีชำระด้วยบัตรเครดิต 2% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%  ของยอดเงินทั้งหมด

ขั้นตอนทั้งหมดตั้งแต่ชำระเงินภาษีสำเร็จจนถึงวันที่ได้รับเอกสารทางไปรษณีย์ไม่เกิน 5 วันทำการ โดยเจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ

ผู้สนใจสามารถชำระภาษีรถยนต์ประจำปีออนไลน์ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th/

ขอบคุณข้อมูล : https://www.dtc.co.th/
https://www.thairath.co.th
https://www.dlt.go.th/th/

จัดไฟแนนซ์รถมือสองอย่างไรให้ผ่านในครั้งเดียว

หลายท่านคงประสบปัญหากับการยื่นขอสินเชื่อไฟแนนซ์รถมือสอง ยื่นเท่าไหร่ก็ไม่ผ่าน วันนี้ ซิตี้ ลิสซิ่ง มีเทคนิคเบื้องต้นก่อนยื่นขอสินเชื่อไฟแนนซ์รถมือสอง มาแนะนำให้การยื่นขอสินเชื่อไฟแนนซ์ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก และน่ากังวลอีกต่อไป

โดยเทคนิคที่มานำเสนอ คือ ​5C เป็นหลักเกณฑ์ 5 ข้อ ที่สถาบันการเงินให้ความสำคัญ ในการใช้พิจารณาว่าการปล่อยสินเชื่อ มีอะไรบ้างลองมาดูกันเลย

1. Character (อุปนิสัย และประวัติของลูกค้า)
– ประวัติอาชีพการทำงาน ความมั่นคง หรือ ชัดเจนเรื่องอาชีพสามารถตรวจสอบได้
– พฤติกรรมทางด้านการเงิน ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา
– ประวัติการฟ้องร้องกับสถาบันการเงินอื่นๆ

2. Capacity (ความสามารถในการทำกำไรและการชำระหนี้)
– ยอดขาย รายได้ และกำไร จากผลการดำเนินงานของกิจการ
– เงินเดือน / รายได้ประจำ
– กระแสเงินสด / เงินหมุนเวียนในบัญชี

3. Capital (เงินทุน)
– เงินออม
– กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ

4. Collateral (หลักประกัน)
– รายละเอียดรถยนต์ (ยี่ห้อ/รุ่น/ปีรถยนต์)
– อยู่ในกลุ่มประเภทรถยนต์ ซื้อง่ายขายคล่อง หรือไม่
– สภาพรถยนต์ปัจจุบันเป็นอย่างไร

5. Condition (สภาวการณ์และปัจจัยอื่นๆ)
– สภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยานยนต์
– โรงงานการผลิต หรือ ตัวแทนจำหน่าย มีการปิดตัว
– ข่าวสารในด้านปัญหาของตัวรถยนต์

หลังจากทำการตรวจสอบตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการเตรียมเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา พร้อมให้ข้อมูล รายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ตามความเป็นจริง และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ อาจช่วยให้เจ้าหน้าที่หาจุดแข็งต่างๆ ของผู้กู้มาช่วยในการนำเสนอ เพื่อเพิ่มข้อมูลให้หนักแน่นยิ่งขึ้น

เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา  

  • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
  • สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน
  • สำเนาบัญชีธนาคาร ( ย้อนหลัง 6 เดือน )
  • สำเนาหนังสือรับรองบริษัท ( กรณีเป็นนิติบุคคล )
  • แผนที่บ้านและที่ทำงาน

การยื่นขอสินเชื่อไฟแนนซ์ อาจจะต้องมีการเตรียมเอกสารต่างๆ ตามที่ทางสถาบันการเงินร้องขอ เนื่องจากจะต้องใช้เอกสารในการประกอบการพิจารณา หากคุณมีการเตรียมเอกสารมาพร้อม ตรงตามเงื่อนไขของทางสถาบันการเงินที่กำหนดไว้ การยื่นขอสินเชื่อไฟแนนซ์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ซิตี้ ลิสซิ่ง หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณลูกค้า แนะนำขั้นตอนในยื่นขอจัดไฟแนนซ์ และการเตรียมเอกสารได้ง่ายขึ้น

หากคุณลูกค้าสนใจจัดไฟแนนซ์รถยนต์ ทางเราเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในจัดไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์รถยนต์  เรามีเจ้าหน้าสินเชื่อพร้อมให้บริการ และคำแนะนำ  สินเชื่อรถยนต์ กู้ง่าย ได้เงินไว เงื่อนไขยืดหยุ่น

รู้หรือไม่? รถบรรทุกวิ่งในกรุงเทพฯช่วงเวลาไหนได้บ้าง

“ติดเวลา” หลายคงคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง หรืออาจจะไม่เคยได้ยินเลย “ติดเวลา” หมายถึงอะไร??? วันนี้เรามีคำตอบมาอธิบายให้ทราบกัน

รถบรรทุก ถูกจัดให้อยู่ในประเภทที่มีลักษณะการใช้งานหลากหลายประเภท และมีขนาดของรถแตกต่างกันไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ จึงถูกกำหนดขอบเขตเวลาในการนำรถเข้ามาวิ่งในพื้นที่เมืองหลวง หรือเรียกว่าเขตชั้นในของกรุงเทพฯ คำว่า “ติดเวลา” จึงหมายถึงว่า เวลาที่ไม่สามารถนำรถประเภทบรรทุกเข้ามาวิ่งใช้งานในวลาเร่งด่วนได้

ดังนั้นเพื่อเลี่ยงปัญหาการจราจรที่คับคั่ง และลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นจากภัยบนท้องถนน รถบรรทุกจึงมีกฎหมายกำหนดเฉพาะ โดยจะแยกตามประเภทของรถ และระยะเวลาในการวิ่งดังนี้

กรณีวิ่งบนพื้นราบ

  • รถบรรทุกถังขนก๊าซ/วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง เดินรถในเขตกรุงเทพฯ ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-22.00 น. ของทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์
    2. รถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-09.00 น. และเวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
  • รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-10.00 น. และเวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
  • รถบรรทุกอื่นๆ เช่น รถบรรทุกซุง เสาเข็ม ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-21.00 น.

กรณีวิ่งบนทางด่วน

  • รถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-09.00 น. และเวลา 16.00-20.00 น.
  • รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-09.00 น. และเวลา 15.00-21.00 น.
  • รถบรรทุกสารเคมี ห้ามวิ่งในช่วงเวลา 06.00-10.00 น. และเวลา 15.00-22.00 น.

ทั้งนี้ รถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กก. สามารถวิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครได้โดยไม่ถือเป็นการติดเวลา ส่วนรถบรรทุกที่มีท้ายยาวกว่า 2.50 เมตร วัดความสูงจากพื้น 3.00 เมตร ส่วนหน้า ห้ามเลยส่วนตัวเก๋ง (ตัวรถ) แต่ในข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร ทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย ห้ามเดินรถบรรทุกขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่ภายในของถนนวงรอบพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร 113 ตารางกิโลเมตร ในช่วงเวลา 06.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ

ซิตี้ ลิสซิ่ง บริการสินเชื่อรถยนต์ถึงหน้าบ้านคุณ

ต้องการรถบ้าน ซื้อขายรถยนต์กันเอง นำรถเข้าจัดไฟแนนซ์ สินเชื่อรถยนต์ จาก ซิตี้ ลิสซิ่ง ช่วยคุณได้ ให้การขอสินเชื่อไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป เพราะเรามีเจ้าหน้าที่ที่พร้อมให้คำปรึกษา สะดวกรวดเร็ว  ฟรี!! ค่าบริการจัดไฟแนนซ์ และบริการ delivery ทำสัญญาพร้อมตรวจสอบรถยนต์ ถึงหน้าบ้านคุณ

เพียงทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 ติดต่อหาเราเพื่อแจ้งรายละเอียดหรือสอบถามข้อมูล ได้ 4 ช่องทาง
– โทร 02-7623838, 02-5143838 Hotline 091-7729735
– Line : @cityleasing
– Facebook : ซิตี้ ลิสซิ่ง รับจัดไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รถเต็นท์ รถซื้อขายกันเอง จบในที่เดียว
– Website : คลิกสมัครขอสินเชื่อ

(เพื่อให้ขั้นตอนการขอสินเชื่อสะดวกและรวดเร็วขึ้น ผู้สมัครสินเชื่อ และผู้ขาย ทำการตกลงราคาซื้อขายและนัดดูรถให้เรียบร้อยก่อนติดต่อ กับทาง ซิตี้ ลิสซิ่ง เพื่อสอบถามเงื่อนไขการสมัครสินเชื่อเพิ่มเติม)

ขั้นตอนที่ 2 เจ้าหน้าที่สินเชื่อจากทาง ซิตี้ ลิสซิ่ง จะทำการโทรนัดหมาย เพื่อพบผู้สมัครสินเชื่อ และผู้ขาย ให้นำรถที่ต้องการขอสินเชื่อมาด้วย เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรถยนต์ พร้อมทั้งรวบรวมเอกสารทั้งหมดไปประกอบการพิจารณาสินเชื่อ และทำสัญญาภายในวัน

เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา
– สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน– สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน
– สำเนาบัญชีธนาคาร ( ย้อนหลัง 6 เดือน )
– สำเนาหนังสือรับรองบริษัท ( กรณีเป็นนิติบุคคล )
– แผนที่บ้านและที่ทำงาน
– คู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนาทะเบียนรถ

ขั้นตอนที่ 3 ทาง ซิตี้ ลิสซิ่ง โทรแจ้งผลการอนุมัติ กับทางผู้ขอสินเชื่อ

รอรับเงินเข้าบัญชี ได้เลย


ซิตี้ ลิสซิ่ง “อนุมัติง่าย ได้เงินไว เงื่อนไขยืดหยุ่น”
*หมายเหตุ : *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

ท่านสามารถดูรายการ สินเชื่อประเภทอื่น ๆ ของเราได้โดยคลิกที่นี่

 

ตรวจเช็คเครดิตบูโร ง่ายได้ด้วยตัวเอง ผ่าน Mobile Banking

ก่อนการยื่นกู้สินเชื่อ จะมี 1 ขั้นตอนที่สำคัญ คือการเช็คเครดิตบูโร เป็นอีกสิ่งที่หนึ่งที่เป็นตัวบ่งบอกข้อมูลประวัติทางการเงิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ โดยทางสถาบันทางการเงินใช้ในการประกอบการพิจารณาสินเชื่อ โดยข้อมูลเครดิตบูโรถูกจัดเก็บโดย บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรืออีกชื่อหนึ่ง NCB จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงิน ประมวลผลความสามารถในการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน โดยมีสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกส่งข้อมูลให้กับทาง NCB และนอกจากช่วยการประกอบการพิจารณาสินเชื่อ การอนุมัติวงเงินสินเชื่อ ยอดผ่อนชำระหนี้รวมต่อเดือนที่จะสามารถทำให้การวิเคราะห์สินเชื่อสมเหตุสมผลมากที่สุด และยังช่วยป้องกันความเสียหายของผู้ฝากเงินเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์หนี้กองทุนฟื้นฟูอีก

ปัจจุบันการตรวจเช็คเครติดบูโร สามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ในวันนี้ขอนำเสนอช่องทางออนไลน์ผ่าน Mobile Banking ของธนาคารต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายของการเช็คข้อมูลเครดิตบูโร แบบไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือจุดให้บริการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ เรามาดูกันว่าช่องทางที่ง่าย และสะดวกรวดเร็ว มีธนาคารใดบ้าง?

ขอขอบคุณข้อมูล และภาพจาก : https://www.ncb.co.th ,https://nhaidee.com

สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (รับจำนองบ้าน ที่ดิน คอนโด อาคารพาณิชย์ และอื่นๆ  ) เชิญได้เลยที่ คลิกที่นี่